FRIEND DOCTOR - ปวดหลัง บทความสุขภาพ,การทำกายภาพ,สะเก็ดเงิน,ด่างขาว
Menu

บทความ

2

พ.ย.

2018

ปวดหลัง อาการปวดจากเส้นประสาทที่ถูกกดทับ (หรือบีบอัด) Pinched Nerve

ปวดหลัง อาการปวดจากเส้นประสาทที่ถูกกดทับ (หรือบีบอัด) Pinched nerve

Author: FriendDoctor

ปวดหลัง อาการปวดจากเส้นประสาทที่ถูกกดทับ (หรือบีบอัด) เป็นแหล่งที่มาของความเจ็บปวดในหมู่ผู้สูงอายุผู้ที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆหลายครั้ง ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและคนที่เป็นโรคอ้วน แม้ว่าบางครั้งอาจเส้นประสาทจะเยียวยาด้วยตัวเองได้แต่เส้นประสาทที่ถูกบีบอัดอาจทำให้เกิดความพิการอย่างมีนัยสำคัญและบางครั้งเส้นประสาทอาจจะเสียหายถาวรเมื่อไม่ได้รับการรักษา

Comments (0) Number of views (4288) Article rating: 2.5

9

ส.ค.

2018

ปวดหลัง จากกล้ามเนื้อ PSOAS คืออะไร

ปวดหลัง จากกล้ามเนื้อ PSOAS

Author: FriendDoctor

อาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการที่พบจากทุกวัย อาชีพ และ นักกีฬา กล้ามเนื้อที่ไม่คุ้นเคยที่เรียกว่า PSOAS (ออกเสียงว่า SOH-AS) มักก่อให้เกิดอาการปวดหลังเมื่อมีอาการแน่นรัดหรือเกิดความไม่สมดุล

และกล้ามเนื้อ PSOAS คืออะไร และอยู่ที่ไหน

PSOAS เป็นหนึ่งในกล้ามเนื้อที่ใหญ่และหนาที่สุดในร่างกาย ยึดติดกับกระดูกสันหลังส่วนหลัง โดยส่วนล่างจะยึดติดกับกระดูกต้นขา มีชื่อเรียก ว่า PSOAS MAJOR และ PSOAS MINOR ที่ผสานเข้ากับกล้ามเนื้อของ ILIACUS ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า PSOAS

PSOAS เป็นมีหน้าที่หลักสำหรับการงอของสะโพกและต้นขาและมีอิทธิพลอย่างมากต่อท่าทางเอวและวิธีวางกระดูกเชิงกรานของคุณ

Comments (0) Number of views (10872) Article rating: 2.2

1

ส.ค.

2017

อยากให้กระดูกแข็งแรงทำอย่างไร

อยากให้กระดูกแข็งแรงทำอย่างไร

Author: Anonym
การที่เราต้องการให้กระดูกแข็งแรง นั้น เราต้องทานอาหารธรรมชาติที่มีปริมาณแคลเซียมสูงตั้งแต่เด็กๆ จนถึงวัยชรา เพื่อสร้างกระดูกให้โตเต็มที่และมีความสมบูรณ์สูงสุด ให้กระดูกแข็งแรง และเพื่อเป็นการกักตุนไว้ใช้เมื่ออายุ มากขึ้น
Comments (0) Number of views (3980) Article rating: 3.7

12

ก.พ.

2017

โครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนเอวถูกต้องกับอาการปวดหลัง

โครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนเอวถูกต้องกับอาการปวดหลัง

Author: Anonym

กระดูกสันหลังส่วนเอวมี  5  ชิ้นเรียกชื่อว่า  กระดูกลัมบาร์ (Lumbar)  เรียงตัวเป็นแนวโค้งมาทางด้านหน้าเล็กน้อย  ระหว่างกระดูกจะมีหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นส่วนที่ยืดหยุ่นได้ (ไม่แข็งเหมือนกระดูก) มีไว้เพื่อรองรับแรงกระแทก แรงกด ทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว กรณีที่หมอนรองกระดูกนี้มีการเคลื่อนออกไปมากจนเกิดการกดทับเส้นประสาทจะทำให้เกิดการปวดหลัง มีอาการชาร้าวลงขาร่วมด้วย  กระดูกสันหลังจะมี หมอนรองกระดูกจะมีอยู่ทุกข้อต่อของกระดูกสันหลังแต่ละข้อตั้งแต่คอจนถึงเอว ข้าง ๆ หมอนรองกระดูกจะมีช่องกลม ๆ อยู่  ช่องนี้เป็นทางออกของเส้นเลือดและเส้นประสาทที่จะไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  ดังนั้นถ้ามีอะไรผิดปกติ เช่น โครงกระดูกสันหลังเกิดเอียง หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน  จะทำให้ช่องนี้แคบเข้า และไปบีบเส้นเลือดเส้นประสาท  จึงเกิดอาการปวดตามมา

Comments (0) Number of views (5041) Article rating: 1.5

12

ธ.ค.

2016

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

Author: Anonym

หากมีการฉีกขาดของเส้นใยหมอนรองกระดูกสันหลังไม่มากนักจะเกิดความเจ็บปวดเฉพาะส่วนหลังที่บาดเจ็บนั้น หากการฉีกขาดของเส้นใยมีมากก็จะทำให้สารเหลวคล้ายวุ้นเคลื่อนตัวออกมาภายนอก กดทับเส้นประสาท จะปวดร้าวไปตามเส้นประสาทนั้น ๆ ที่พบมากคือ ปวดร้าวจากหลังไปยังน่อง หรือหลังเท้า  หากมีการกดทับรากประสาทมาก จะเกิดการปวดชาร้าวไปที่ปลายเท้า และขาไม่มีแรง รวมทั้งมีเดินเซและควบคุมการอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ หมอนรองกระดูกสันหลังเป็นมีเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกและยืดหยุ่นเวลาเคลื่อนไหว  หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีลักษณะรูปร่างเป็นวงกลม ๆ โดยมีบริเวณขอบเป็นพังผืดเหนียว  แข็งแรงประกอบด้วยเส้นใยประสานกัน ภายในจะมีของเหลวคล้ายวุ้นเป็นสารถ่ายรับน้ำหนัก และกระจายน้ำหนัก

Comments (0) Number of views (4703) Article rating: 1.0

10

ธ.ค.

2016

อาการปวดคือเพื่อนของคุณ

อาการปวดคือเพื่อนของคุณ

Author: Anonym

อาการปวดคือเพื่อนของคุณ

          อาการปวดเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของคนปกติ  คนที่ไม่มีความเจ็บปวดเลยน่าเป็นห่วงมากกว่า  เพราะเส้นประสาทอาจมีปัญหา  หรือมีโรคทางสมองก็เป็นได้  ฉะนั้นความปวดจึงไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ  แท้จริงแล้วความปวดคือสัญญาณเตือนภัยของร่างกาย  ธรรมชาติสร้างความปวดขึ้นมาเพื่อเตือนว่าชีวิตของเรากำลังผิดปกติต้องรีบแก้ไขต้นเหตุของความผิดปกตินั้นๆ

Comments (0) Number of views (3737) Article rating: 3.3

2

ธ.ค.

2016

สาเหตุการปวดหลังหลังคลอดและวิธีการรักษา

สาเหตุการปวดหลังหลังคลอดและวิธีการรักษา

Author: Anonym

        ผู้หญิงหลายคนมักจะคิดว่าการปวดหลังและความเจ็บปวดทั้งหลายจากการตั้งครรภ์จะหายไปในทันทีราวกับร่ายมนตร์วิเศษภายหลังจากคลอด แต่จริง ๆ แล้วก็อาจจะยังคงมีอาการปวดหลังได้มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากการตั้งครรภ์ การคลอดและอื่น ๆ

Comments (0) Number of views (17367) Article rating: 3.3

21

พ.ย.

2016

ท่านอนมีความสำคัญอย่างไร

ท่านอนมีความสำคัญอย่างไร

Author: Anonym
         การนอนเป็นท่าที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารต่าง ๆ ที่ใช้หมดไปกลับคืนมา เตรียมที่จะทำงานใหม่ เมื่อยามตื่นนอน เมื่อนอนหลับ สมองจะสร้างสารสื่อและช่วยความจำ ระบบภูมิคุ้มกันสร้างสารภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมน การนอนจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้มีสุขภาพดี   
         กรณีที่นอนไม่หลับตลอดคืน หรือตื่นตลอดเวลาเนื่องจากถูกปลุก บุคคลนั้นจะมีสภาพจิตไม่ปกติ กล้ามเนื้อปวดเมื่อย เกร็งแข็ง รวมทั้งกินอาหารไม่ได้
Comments (0) Number of views (5351) Article rating: 2.0

18

พ.ย.

2016

วิธีลด 3 อาการบาดเจ็บตะคริว กล้ามเนื้อฉีก และบาดเจ็บข้อเท้า ข้อเข่า ไหล่ หลัง

วิธีลด 3 อาการบาดเจ็บตะคริว กล้ามเนื้อฉีก และบาดเจ็บข้อเท้า ข้อเข่า ไหล่ หลัง

Author: Anonym
  การออกกำลังกายมีประโยชน์มกมาย และเป้าหมายในการลุกขึ้นมาขยับแข้งขยับขาของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทุกคนที่เข้าถึงการออกกำลังกายจริงๆ จะตกหลุมรักการออกกำลังกายอย่างไม่รู้ตัว ถึงขนาดที่ว่าไม่ออกกำลังกายแล้ว รู้สึกเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างเลยทีเดียว

ขั้นตอนการออกกำลังกายนั้นมี 5 ข้อ โดยวิธีการปฏิบัติดังนี้
1.เตรียมความพร้อม นั่นคือ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ ก่อนเริ่มการอุ่นร่างกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บระหว่างออกกำลังกาย
2.ช่วงอบอุ่นร่างกาย เป็นการปรับร่างกายก่อนการออกกำลังกายจริง
3. ช่วงการออกกำลังกายจริง
4. ช่วงลดอุณหภูมิของร่างกายหรือการลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดการทำงานของกล้ามเนื้อ
5.ช่วงยืดเหยียดร่างกายในส่วนที่ทำงานหนัก เพื่อลดการเกร็งสะสม หรือคั่งค้างที่อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมา

Comments (0) Number of views (6012) Article rating: 3.5

15

ก.ค.

2016

ความจริงเกี่ยวกับโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกอ่อน

ความจริงเกี่ยวกับโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกอ่อน

Author: Anonym
โรคที่เกี่ยวกับกระดูกแล้ว ที่พูดถึงกันมากคือ โรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน ซึ่งทั้ง 3 โรคมิใช่โรคเดียวกันหรือว่ามีการรักษาแบบเดียวกัน แต่ละโรคมีลักษณะและการรักษาที่แตกต่างกันออกไป แต่พบว่ากลับถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ประเภทเสริมกระดูกอย่างแพร่หลาย จนทำให้เกิดการเข้าใจผิดอย่างกว้างขวาง
Comments (0) Number of views (3819) Article rating: 3.3
RSS
1234567

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 

ข้อตกลงการใช้งานบทความ

ขอสงวนสิทธิ์ในข้อความ เนื้อหา รูปภาพ องค์ประกอบและสิ่งต่างๆที่ปรากฏใน website FriendDoctor.net ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ตีพิมพ์ เผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของ website FriendDoctor.net ก่อน และบทความ ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ องค์ประกอบและสิ่งต่างๆที่ปรากฏใน website FriendDoctor.net เป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เขียน ไม่สามารถนำไปเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง หรือใช้ทดแทนคำวินิจฉัย และ หรือ การรักษาจากแพทย์ได้

 

film izle