
อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด
2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้
3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก
สำหรับวิธีการรักษา "โรคนิ้วล็อค" ประกอบไปด้วย
1. การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ
2. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด มักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง ได้แก่
2.1การใช้เครื่องดามนิ้วมือ

ดามนิ้วมือแบบแข็ง ดามข้อกลางและปลายนิ้ว
ดูผลิตภัณฑเพิ่มเติมได้ที่ FingerSplintII

ดามนิ้วมือแบบแข็ง ดามทั้ง 3 ข้อโคน,ข้อกลางและข้อปลายนิ้ว

ดามนิ้วมือแบบเฝือกอ่อน ครอบคลุมทั้งนิ้ว จะคล่องต้วกว่าแบบเฝือกแข็ง
ดูผลิตภัณฑเพิ่มเติมได้ที่ HealThumb
2.2การนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบหรือ อัลตร้าซาว์ดบำบัด

ภาพแสดง หาขวดใบเล็กขนาดมือกำได้ใส่น้ำร้อน เอามานั่งกำค่ะ กำแล้วเหยียดเหยียดแล้วกำ

ภาพแสดง แช่น้ำอุ่นวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น ประมาน 5 นาที กำและแบ

ภาพแสดง ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์บำบัด ลดอาการอักเสบ
ดูผลิตภัณฑเพิ่มเติมได้ที่ Ultrasound Therapy
2.3การออกกำลังกายเหยียดนิ้ว บริหารนิ้วและฝ่ามือ ท่าละ 3-5 นาที

ภาพแสดง ประกบมือและนิ้วมือ แอ่นนิ้วผลักต้านกันเป็นจังหวะๆ
ภาพแสดง กำมือให้แน่นก่อนเหยียดและกางนิ้วให้เต็มที่

ภาพแสดง วางนิ้วมือบนขอบโต๊ะ แอ่นนิ้วมือยันพื้นโด๊ะ
3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม (มีผลข้างเคียงมาก) แต่การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยาเกิด 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค
4. การรักษาโดยการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก หลักในการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีก ทั้งนี้ การผ่าตัดเล็ก โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ หลังผ่าตัด ให้ใส่เฝือกแข็ง หลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก และการสัมผัสนิ้ว ประมาณ 2 สัปดาห์
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
- ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิตยสารชีวจิต ปีที่ 8 ฉบับ 16 มิถุนายน 2549
- คอลัมน์ พบแพทย์ จุฬาฯ หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2549
ภาพจาก- yiwha health club