
การทำงานออฟฟิศหน้าคอมพิวเตอร์ที่เราต้องวางข้อมือบนโต๊ะและมีการขยับข้อมือไปมา เช่น การกดแป้นคีย์บอร์ด การใช้เมาส์ ทำงานตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า เป็นอาการเครียดของกล้ามเนื้อเมื่อใช้งานต่อเนื่องนานๆ เช่น การกดแป้นคีย์บอร์ด ทำให้กระดูกนิ้วเสื่อม กล้ามเนื้อไหล่ตึง และเจ็บปวดมาก การขยับเมาส์ไปมาทำให้ปวดกระดูกข้อมืออาจเกิดผังพืดที่โพรงเส้นประสาทข้อมือหรืออุโมงค์ข้อมือ หากทิ้งไว้นานอาจปวดเรื้อรั้งถึงขั้นพิการ
โรคนี้เกิดจากเส้นประสาทมีอาการอักเสบ จากการบีบรัด ดังนั้นในขณะที่มีอาการอักเสบนี้จึงไม่ควรออกกำลังในท่างอมือ หรือกระดกข้อมือเพราะเส้นประสาทจะยิ่งไปกระแทกกดกับกระดูกหรือพังผืดที่รัดอยู่ ทำให้เกิดพังผืดตรงบริเวณช่องเส้นเอ็น (ตรงข้อมือของคนเราจะมีเส้นเอ็นยึดข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อรวมทั้งเส้นประสาทวิ่งผ่าน)
จะสังเกตได้ง่ายมากสำหรับคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ทุกคนจะเป็นพังผืดบริเวณข้อมือ เนื่องจากการใช้เมาส์อุโมงค์ข้อมือ พบได้ในคนที่ต้องใช้มือหรือข้อมือมากๆ ในคนที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อปลายประสาท เช่น เบาหวาน โรคข้ออักเสบ รวมถึงนักท่องเน็ตหรือผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา

มารู้จักอาการปวดของเส้นประสาทกดทับ หรือกลุุ่มอุโมงค์ข้อมือ
1. อาการปวดมีลักษณะแปลบๆ คล้ายเข็มตำ วิ่งไปตามปลายมือ
2. อาการปวดมีลักษณะปวดแสบปวดร้อนที่ฝ่ามือและปลายนิ้ว
3. อาการปวดมีลักษณะปวดชาเหมือนเป็นเหน็บ อาจจะปวดขึ้นไปจนถึงไหล่
4. อาการปวดมีลักษณะเหมือนถูกไฟช๊อตที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง
5. อาการปวดหรือปวดชาไปทั้งมือและมันมักจะเป็นตอนนอนหลับกลางคืน
6. อาการปวดทำให้มีปัญหาในการขยับข้อหรือแรงกำมือได้ไม่แน่น
การรักษา
- หยุดการใช้งานข้อมือข้างที่มีอาการ
- ใช้ยาต้านการอักเสบ (ในกรณีที่มีการอักเสบของเยื่อหุ่มเส้นเอ็น) และรับประทานวิตามินบี1 บี6 บี12
- ใส่อุปกรณ์ประคองข้อมือ และแพทย์อาจใช้ยาสเตียรอยด์ (steroid) ฉีดเข้าในอุโมงค์ข้อมือ
- หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อประเมินการผ่าตัดเนื้อผังผืด (retinaculum) ทางด้านหน้าของข้อมือที่กดรัดเส้นประสาท
วิธีป้องกัน
1. การพักใช้งานข้อมือ 1 ชม. ควรพักทุก 15-25 นาที
2. ปรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับกับสรีระ
3. ตอนใช้เมาส์ คุณอาจจะหาแผ่นรองข้อมือมาวางก็ยิ่งดีเคยเห็นแผ่นรอง เมาส์ที่มีเบาะนุ่มๆ รองตรงข้อมือน่าจะใช้ได้เคลื่อนไหวให้ถูกท่า
4. ควรผ่อนคลายอิริยาบถ ด้วยการบริหารมือและข้อมือดังภาพข้างล่างนี้นะคะ
คำแนะนำเบื้องต้น
- ให้เริ่มบริหาร หลังจากอาการปวดทุเลาแล้ว
- ขณะบริหาร ถ้าปวดมากให้หยุดพักบริหารท่านั้นไว้ก่อน
- ควรทำเป็นประจำทุกวัน