วิธีที่ดีที่สุดในการรักษา “นิ้วล็อก”
การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาที่ดีและได้ผลเร็วที่สุด ผู้มีอาการนิ้วล็อกควรมาพบนักกายภาพบำบัดโดยเร็วที่สุด อย่าปล่อยทิ้งไว้จนนี้วติดล็อก จะทำให้การรักษายากและต้องใช้เวลานานขี้น การรักษาทางกายภาพบำบัด มีจุดประสงค์เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด ลดอาการตึงรั้งคลายปมหรือสลายพังผืดบริเวณที่เป็น ทำให้นิ้วงอและเหยียดได้สะดวกขิัน
- นักกายภาพบำบัดจะใช้การนวดเทคนิคพิเศษเพื่อยืดคลายปม
- การใช้เครืองอัลตราซาวนด์หรือเครื่องคลื่นเหนือเสียง เพื่อช่วยลดการอักเสบและความเจ็บปวด
- การใช้แผ่นเย็บประคบบริเวณที่มีการอักเสบ
- การออกกาลังกล้ามเนื้อมือ
นอกจากนี้ นักกายภาพบำบัดอาจใช้เทคนิคเฉพาะ เช่น การดัดดึงข้อต่อ หรือการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานผ่านประสาทการรับรู้ของข้อต่อ ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้มุมกว้างและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น การประคบร้อนหรือการแช่พาราฟิน ใช้ในกรณีที่ไมมีการอักเสบ บวม แดง ร้อน เท่านั้น
การรักษาด้วยการฉีดยา
เป็นหน้าที่ของแพทย์เจ้าของไข้ที่จะให้การวินิจฉัยและพิจารณาการรักษาด้วยการฉีดยาหรือการผ่าตัด
การฉีดยาเสตอรอยด์เฉพาะที่ ใช้เพื่อลดการอักเสบลดปวดและบวม เป็นการรักษาทีมีประสิทธิภาพเห็น
ผล์์ทันที แต่เป็นการรักษาแเบบชั่วคราว แพทย์จะฉีดยาที่ปลอกอุโมงค์ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะฉีดซ้ำเป็น
ครั้งที ๒ การฉีดยามักไม่ได้ผลในนิ้วที่มีปัณหาเรื้อรังหรือกรณีมีสาเหตุจากโรคอื่น เบาหวาน N
การผ่าตัด
กรณีที่ไม่ได้รักษาจนนิ้วติดล็อกมาก หรือหลังจากฉีดยา ๒ ครั้งแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์มักแนะนำผ่าตัด จุตประสงค์เพื่อเปิดอุโมงค์ให้กว้างขึ้นให้เสันเอ็นลอดผ่านได้สะดวก หลังผ่าตัดให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวนิ้วทันทีประมาณ ๒ สัปดาห์หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถใช้มือได้ตามปกติ แต่บางรายอาจจะรู้สึกเจ็บและระยะหนึ่ง
ปัณหาหลังผ่าตัดหรืออาการแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ กรณีที่เสันเอ็นหดตัวนานเกินไป ทำให้เหยียดนิ้ว
ได้ไม่สุด หรือตัตอุโมงค์หุ้มเส้นเอ็นไม่หมด
ดูแลตนเอง อย่างไร
ระยะแรก อาการยังไม่มากนัก ควรลดการใช้งานมือให้น้อยลง ทำเท่าที่จำเป็นหรือใช้มืออีกข้างแทน และควรพักมือเป็นระยะๆ บางครั้งอาจต้องใส่เฝือกอ่อนแบบชั่วคราวเพื่อให้นิ้วได้พักจริงๆ
ถ้ามีอาการปวดจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การกินยาระงับปวดอาจช่วยได้บ้าง
การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมบางอย่างจะช่วยลดอาการบวมและปวดได้ อุ้มกระเป๋าแนบอกแทนการหิ้ว หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแทนกรรไกร
ออกกำลังมือในลักษณะผลัก ดัน ยัน เน้นท่ายึดเหยียดนิ้วเป็นหลัก ถ้าไม่แน่ใจว่าทำได้ ควรไปพบนักกายภาพบำบัดขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธียืดและท่าออกกำลังหรือวิธีดูแลตนเองที่ถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก จากหมอชาวบ้าน สิงหาคม 2555
นิ้วล็อก